เป็นวิธีเบื้องต้นที่ช่วยลดการปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้อง ระบบจ่ายอัตโนมัติต่างๆ ที่ออกแบบให้ใช้มือสัมผัสอุปกรณ์น้อยที่สุดหลังจากการล้างมือ ระบบปิดของอุปกรณ์สิ้นเปลืองที่ลดการปนเปื้อนจากพนักงานคนหนึ่งสู่อีกคนหนี่ง ระบบการฆ่าเชื้อหลังจากเช็ดมือ รวมถึงการรณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือ เหล่านี้จึงเป็นกิจกรรมหลักในการจัดการที่ช่วยลดการปนเปื้อนจากพนักงานสู่กระบวนการผลิต
• สนับสนุนให้มีการล้างมืออย่างถูกวิธี
• ระบบที่ช่วยลดโอกาสในการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์
• ระบบที่มีการซ่อมบำรุงต่ำ มีความทนทานและน่าเชื่อถือ
• ผลิตภัณฑ์ล่างมือคำนึงถึงและถนอมมือของพนักงาน
• ค่าใช้จ่ายที่เป็นสมเหตุสมผล
• เลือกอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสำหรับงานอาหาร
• เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะกับลักษณะงาน
• พนักงานสวมใส่สบายขณะทำงาน
• ค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล
• แยกสีเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การผลิต
• แยกสีของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมอาหารแต่ละประเภท
เป็นวิธีที่ง่ายและเห็นชัดเจนที่สุด รวมทั้งสามารถสืบย้อนกลับได้ว่ามีการปนเปื้อนจากส่วนงานใด โดยตามมาตรฐานต่างๆ ทั่วโลกมีการแนะนำให้ใช้สัญลักษณ์สีในการแยกบริเวณ หรือประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสอาหาร เช่น ภาชนะ มีด เขียง ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน หมวก เป็นต้น ทั้งนี้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สัญลักษณ์สีควรได้รับการรับรองว่าสามารถสัมผัสอาหารได้จากสถาบันที่น่าเชื่อถือ และมั่นใจว่าจะไม่หลุดปนเปื้อนไปกับอาหารด้วย
• สามารถจัดการกับคราบเศาอาหารที่แห้งหรือ Carbonized food waste (CFW)
• ทำความสะอาดได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดทำความ สะอาดในปริมาณน้อยที่สุด
• ทำความสะอาดพื้นผิวได้หมดจด
• ไม่ทิ้งร่องรอยหรือเศษผลิตภัณฑ์ในระหว่างการทำความสะอาด
จะเห็นว่ากระบวนการทำความสะอาดถือเป็นกิจกรรมหลักของผู้ผลิตอาหาร นอกจากการกำหนดขั้นตอนการทำความสะอาดในแต่ละบริเวณแล้ว การเลือกผลิตภัณฑ์เช็ดให้เหมาะสมก็มีส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะงาน เช่น งานที่มีการเช็ดร่วมกับสารเคมีทำความสะอาด งานเช็ดเก็บคราบน้ำมัน เศษอาหาร หรือ การเลือกใช้ให้เหมาะกับพื้นผิวโดยไม่ทิ้งฝุ่นขุย หรือการทำความสะอาดขั้นตอนสุดท้าย ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (Sanitizer) โดยไม่ก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำความสะอาด